ดูบทความ
ดูบทความต่อเติมบ้านในส่วนของห้องครัวไทยกับช่องระบาย
ต่อเติมบ้านในส่วนของห้องครัวไทยกับช่องระบาย
ห้องครัวไทยก็นับเป็นอีกพื้นที่ใช้สอยยอดฮิตที่มีการต่อเติม ซึ่งนอกจากจะต้องคำนึงเรื่องโครงสร้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมายด้วย ที่มีผลกระทบชัดเจนเห็นจะเป็นเรื่องที่ต้องเว้นระยะห่างจากแนวรั้วบ้านอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และบังคับให้ผนังด้านนั้นต้องปิดทึบปราศจากช่องลมหรือช่องระบายอากาศใดๆ เป็นผลให้กลิ่นและควันจากการปรุงอาหารระบายได้ไม่ดีนัก สำหรับปัญหาเรื่องการระบายอากาศห้องครัวต่อเติมนี้ มีวิธีแก้ไขอยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรกคือ การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ หากเป็นบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ด้านข้างเพียงพอ และห่างจากรั้วไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ก็สามารถใช้วิธีเจาะช่องหน้าต่างด้านข้างได้ แต่สำหรับทาวน์โฮมซึ่งไม่มีพื้นที่ดังกล่าว สามารถใช้วิธีทำหลังคาซ้อนกันสองชั้น โดยยกหลังคาผืนบนให้สูงกว่าหลังคาผืนล่าง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหลังคาทั้งสองผืนขึ้น ตรงนี้เพียงแค่ตีระแนงไม้ซ้อนเกล็ด (อาจใช้เป็นไม้เทียมหรือไม้สังเคราะห์แทนก็ได้) เพิ่มเข้าไปก็จะได้เป็นช่องลม ซึ่งอาศัยการระบายอากาศตามธรรมชาติ ให้ไอร้อนลอยขึ้นระบายออกไปเอง
ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการระบายอากาศจะขึ้นอยู่กับทิศทางของลมที่พัดภายนอกบ้าน ด้วย เช่น ถ้าหันปะทะลมก็จะทำให้ระบายควันออกได้ยาก เป็นต้น
อีกแนวทางหนึ่งคือ การติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือบางทีก็เรียกพัดลมระบายอากาศ เมื่อมีการทำอาหารก็เปิดพัดลมให้ดูดควันและกลิ่นออกไปทิ้งด้านนอกห้อง โดยพัดลมควรหมุนด้วยความเร็วรอบตั้งแต่ 1,500 รอบต่อนาทีขึ้นไป
• สำหรับห้องครัวขนาด 6เมตร x 3 เมตร หรือประมาณ 18 ตารางเมตร ควรเลือกพัดลมดูดอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว ขึ้นไป (ซึ่งจะระบายอากาศได้ 810 ลูกบาศก์เมตร ต่อ ชั่วโมง หรือ 476ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
• สำหรับห้องครัวขนาด 4 เมตร x 3 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร ควรเลือกใช้พัดลมดูดอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วขึ้นไป (ซึ่งจะระบายอากาศได้ 540 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หรือ 317ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
ทั้งนี้ สำหรับห้องครัวที่ใช้ปรุงอาหารซึ่งก่อให้เกิดควันมาก และมีการใช้งานบ่อยครั้ง อาจหันมาติดตั้งท่อดูดควันเพิ่มบริเวณเหนือเตา จะช่วยลดปริมาณควันหรือกลิ่นในห้องครัวได้มากขึ้น
ทำหลังคาซ้อนกันสองชั้น พร้อมตีระแนงซ้อนเกล็ดเพื่อระบายอากาศ
การระบายอากาศด้วยท่อดูดควัน (Hood)
พีระพงษ์ บุญรังษีSCG Experience Architect
ต่อเติมครัวกับช่องระบายอากาศและข้อควรรู้
หลังจากซื้อบ้านจัดสรรไม่ว่าเป็นทาวน์โฮม หรือบ้านเดี่ยวมาแล้ว เจ้าของบ้านมักจะมีความต้องการต่อเติมเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้มากขึ้น พูดกันได้ว่าไม่ให้เหลือที่วว่างกันเลยทีเดียว
เจาะช่องหน้าต่างด้านข้างเพื่อระบายอากาศ
ทำหลังคาซ้อนกันสองชั้น พร้อมตีระแนงซ้อนเกล็ดเพื่อระบายอากาศ
ข้อควรระวังในการต่อเติมห้องครัวแบบปิดทึบอีกประเด็นคือ เรื่องน้ำหนัก ยิ่งทำให้เบาได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้ส่วนต่อเติมมีการทรุดตัวช้าลง สามารถเลือกใช้วัสดุก่อสร้างน้ำหนักเบา อย่างเช่น
• ผนังก่ออิฐมวลเบา ผนังโครงเบาคร่าวเหล็กตีปิดด้วยไม้ฝาหรือแผ่นผนังโครงเบาเช่น ไม้ฝาสมาร์ทวูด หรือแผ่นสมาร์ทบอร์ด เป็นต้น
• โครงสร้างเสา คาน หลังคาเลือกใช้เหล็กกล่อง มุงหลังคาด้วยกระเบื้องลอนคู่ เมทัลชีท หรือไวนิล
• ฝ้าเพดานยิปซั่มหรือสมาร์ทบอร์ด
• พื้น ใช้คานและตงเหล็ก กรุทับด้วยแผ่นพื้นเบา เช่น แผ่นสมาร์ทบอร์ด เป็นต้น ปูทับด้วยกระเบื้อง
เพื่อลดอาการทรุดเอียง ควรกระจายน้ำหนักบนพื้นครัวส่วนต่อเติมให้เท่าๆ กัน ไม่ควรหล่อเคาน์เตอร์ครัวปูน สร้างห้องน้ำ หรือวางถังเก็บน้ำ ค่อนไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งของส่วนต่อเติม นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างในการต่อเติมครัว (รวมถึงส่วนต่อเติมอื่นๆ ทุกกรณี) คือควรแยกโครงสร้างออกจากโครงสร้างเดิม ไม่นำไปฝากกัน เพราะจะทำให้เกิดการทรุดเอียงซึ่งจะแก้ไขได้ยาก
นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอีกว่า ห้ามไม่ให้น้ำฝนจากหลังคากระเด็นไปสร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน จึงต้องติดตั้งรางรับน้ำฝนที่ปลายชายคา จะให้ดีควรใช้รางน้ำฝนจากวัสดุที่มีความคงทน น้ำหนักเบา และไม่มีการรั่วซึม ประโยชน์ทางอ้อมที่ได้รับจากการติดตั้งรางน้ำฝนคือ การรวบรวมน้ำฝนจากรางมาเก็บเอาไว้ในถังเก็บน้ำ ก่อนจะนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ แต่ถ้าต้องการนำไปซักผ้าและนำไปล้างรถ ควรนำน้ำไปผ่านการกรองสิ่งสกปรกเสียก่อน หรืออาจเลือกใช้เครื่องกรองชนิดที่สามารถติดตั้งเข้ากับท่อระบายน้ำจากรางน้ำฝนได้เลย เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก
ภาพ : www.goastudio.co.uk
ต่อเติมครัว ครัวไทย ปัญหากลิ่นเหม็น
• รอบรู้เรื่องบ้าน
o ต่อเติมห้องครัวไทย แบบโปร่งหรือแบบทึบดี?
o สนุกกับเรื่องบ้าน : ช่องระบายอากาศครัวต่อ
04 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้ชม 21396 ครั้ง